วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ระบบภูมิสารสนเทศ (GIS) สำหรับนักบริหาร

สวัสดีทุกท่าน วันนี้เป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มาพบปะทุกท่านที่กำลังจะก้าวเข้าสู่ผู้บริหารระดับกลางต่อไป ยินดีกับทุกท่านที่ได้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น ในเรื่องของ GIS (Georgramphy Information System) ระบบภูมิสารสนเทศสำหรับนักบริหาร นั้นมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับในยุคปัจจุบันซึ่งมีหัวข้ออยู่ 4 หัวข้อดังนี้คือ
1. เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ
2. องค์ประกอบของระบบภูมิสารสนเทศ (GIS)
3. การประยุกต์ระบบภูมิสารสนเทศ(GIS)สำหรับงานบริหาร
4. ตัวอย่างระบบภูมิสารสนเทศ(GIS) กับการบริหาร

1. เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ A map is worth thousand reports
ความคิดแรก ๆเกิดจากเรื่องของแผนที่ มีประโยคๆหนึ่งแทนได้เป็นพัน ๆคำ เมื่อเข้าไปดูรูปภาพที่เราเห็น ตัวภาพที่เห็น เขาบรรยายเหตุการณ์ สถานการณ์ตอนนั้น ให้เราฟังรวมแล้วก็เป็นพันคำ
เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ เป็นแผนที่ที่เก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีข้อมูลเชิงบรรยายเข้ามาเกี่ยวข้องทางด้านกราฟฟิก ข้อมูลทางด้านภูมิประเทศ หากเรามองแผนที่ๆหนึ่ง จะได้จากแผนที่คือ เรื่องของตำแหน่ง ดูแผนที่เพื่อให้ทราบตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง ดูเพื่อให้ทราบพื้นที่ สิ่งเหล่านี้ก็จะเป็นการนำมาประมวลผลต่อไป
สรุปก็คือ เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีสำหรับการสำรวจ จัดสร้าง จัดการ วิเคราะห์ ใช้งาน และนำเสนอข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ นี้คือคำจำกัดความเบื้องต้นของคำว่าเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ เพื่อที่จะให้ท่านก้าวไปอีกขั้นหนึ่งเพื่อนำมาใช้ในการบริหารงานต่อไป
สมมติว่า เรามีโลกอยู่ใบหนึ่ง ที่เป็นโลกจริง ๆ เพื่อจัดทำเป็นแผนที่โดยแยกเป็นชิ้น ๆแล้วเก็บไว้ในฐานขัอมูล แล้วถึงนำมาวิเคราะห์ใช้ในการตัดสินใจ ใช้ในการวางแผน ใช้ในการมอนิเตอร์งานต่าง ๆ ในพื้นที่หรือในองค์กรที่เราอยู่ นี้คือภาพรวมของข้อมูลเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศสำคัญอย่างไร ?
มีความสำคัญดังนี้ คือ
· ข้อมูลที่มนุษย์ต้องการเกือบทั้งหมด เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆบนโลก
· ข้อมูลตำแหน่งที่ตั้งของสิ่งต่าง ๆบนโลก ที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจของมนุษย์
· ช่วยให้มีฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศ(แผนที่) ที่จัดเก็บในรูปแบบข้อมูลดิจิตอล
· ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจ

เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ตอบคำถามอะไร ?
นั่นคือ เป็นข้อมูลที่ตอบคำถามอะไรให้แก่เรา คือ
Where - เดินทางไปที่ไหน เราใช้แผนที่ในการตอบ
How Far - ไกลเท่าไหร่
How big - พื้นที่มีขนาดเท่าไหร่ สามารถใช้ได้เกือบทุกรื่อง อาทิเช่น เรื่องของที่ดินขอบเขตการปกครอง
Connected to - มีความเชื่อมโยงกันแบบไหน จังหวัดที่อยู่ใกล้เคียงเรา มีผลกระทบที่ไหน เช่น เรื่องน้ำท่วมของจังหวัดน่าน ใช้แผนที่เข้าไปช่วยในการจัดทำ ทิศทางนำไหลไปทางไหน ใช้ข้อมูลไปช่วยวางแผนป้องกัน

ในการจำลองเขาทำอย่างไร เขียว ๆฟ้า ๆ เป็นพื้นที่โลก ข้อมูลของแปลงที่ดิน ข้อมูล GIS เป็นแปลง ๆหนึ่ง ๆ เช่น ชั้นของความสูง เป็นหนึ่งชั้นข้อมูล ข้อมูลมีถนน ทำเลเยอร์ถนนขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง หากเก็บแล้ว นำข้อมูลมาซ้อนกันก็จะเห็น แบบจำลองของพื้นที่ออกมา ภาพหลักที่เราใช้ในปัจจุบัน ข้อมูลที่เราไปสำรวจเขาจะเก็บเป็นชั้น ๆ อาทิเช่น นี้คือ ภาพกว้างของข้อมูลสารสนเทศก็คือ เรื่องของแผนที่นั่นแหละเพื่อนำไปวิเคราะห์

2. องค์ประกอบของระบบภูมิสารสนเทศ (GIS)ประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆดังต่อไปนี้
· ข้อมูล
· อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์
· อุปกรณ์ซอฟท์แวร์
· กระบวนการบุคลากร
ข้อมูล
ข้อมูลเชิงภูมิศาสตร์ประกอบด้วย
Ø ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data)
Ø ข้อมูลเชิงบรรยาย (Attributes)
Ø เวลา (Time)
Ø ข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยายมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน

· ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data)
สิ่งต่าง ๆที่ปรากฎบนพื้นโลก ล้วนสามารถกำหนดที่ตั้งลงไปได้
1.ข้อมูลเชิงพื้นที่(Spatial Data) ก็คือ ข้อมูลที่เป็นกราฟฟิก เป็นข้อมูลที่มีรายละเอียดในด้านแผนที่ต่าง ๆจะเห็นเป็นข้อมูลของถนน เป็นต้น
2.ข้อมูลเชิงบรรยาย(Attributes) คือ ข้อมูลที่เป็น Excel ข้อมูลเชิงบรรยายของจังหวัด ข้อมูลของตัวชี้วัดของกระทรวงมหาดไทยที่จะนำมาใช้
3.เรื่องของเวลา (Time) ความแตกต่างของการใช้ที่ดินแต่ละช่วงเวลา คำว่า เวลา เป็นข้อมูลของพิ้นที่หรือ เชิงบรรยาย มีความทันสมัยไหม สามารถนำไปวิเคราะห์ต่อได้ไหม
4.ในการจะนำ GIS ไปใช้งานทั้ง 2 อันนี้ต้องสามารถเชื่อมโยงกันได้ เพื่อนำไปใช้งานได้ต่อไป
ข้อมูลแผนที่และเชิงบรรยาย สามารถ Link กันได้ ข้อมูล GIS แผนที่ สามารถแบ่งเป็น Raster เป็นภาพถ่ายจากดาวเทียม ภาพถ่ายจากการบินถ่าย อาทิเช่น ภาพถ่ายออร์โธสีกระทรวงเกษตร ฯ โดยใช้ 1 : 4,000 คิดระวางละ 500 บาท เป็นภาพสีมีความละเอียด 0.5 เมตร 1 ซ.ม = 4,000 ซ.ม สามารถมองเห็นระยะไกล เห็นบ้าน เห็นต้นไม้ บ้านเป็นอย่างไร ส่วนของกระทรวงมหาดไทยการจัดที่ดินแก้ปัญหาความยากจน รวมหลาย ๆหน่วยงานที่เกี่วข้อง มองถึงความยากจน ขาดที่ดินทำกิน เพื่อนำที่ดินป่าเสื่อมโทรมมาจัดสรรที่ดินให้แก่ผู้ยากจน
Vector : เป็นข้อมูลกายภาพพื้นฐาน เป็นข้อมูลที่กำหนดพิกัด เหมือนการลากเส้นวาดขึ้นมาในระบบของแผนที่ (GIS) ข้อมูลที่เป็น Vector แบ่งเป็นชั้นข้อมูลหลัก ๆ
1. ชั้นแรก เป็นขอบเขตของการปกครองนำเสนอโดยพื้นที่ปิด อาทิเช่น ขอบเขตของการปกครองประเทศไทย แบ่งเป็นระดับของจังหวัด อำเภอ ตำบล เหล่านี้ไม่ได้ชัดเจนเหมือนราชกิจจานุเบกษาว่า แปลงนี้อยู่ตรงไหน แต่จะต้องลงไปในพื้นที่จริง ๆถึงจะรู้
2. ข้อมูลเส้นทางคมนาคม และโครงข่ายถนน นำข้อมูล Laster มาวางก่อนแล้วนำข้อมูล Vector มาซ้อนทับ เราก็มีข้อมูลโครงข่ายถนน ข้อมูลถนนมีความสำคัญมาก เพราะว่าเราจะเดินทางไปทางไหนก็ต้องมีข้อมูลถนนเข้ามาเกี่ยวข้อง ในการวิเคราะห์เรื่องอะไรก็ตามก็จะต้องมีเรื่องถนน ข้อมูลเชิงเส้นถัดมาก็คือ ข้อมูลทางรถไฟ อันนี้ก็มีความสำคัญในการใช้งาน ข้อมูลของกลุ่มอาคาร เทคโนโลยีของ GIS ในปัจจุบันทั้ง 2 มิติ กับ 3 มิติ ทำให้อาคารที่เป็นแบน ๆออกมาที่เป็นตึกเป็นชั้นทำให้มีความสูงขึ้นมาได้ อาทิเช่น งานของกรมโยธาธิการและผังเมือง เขาก็มีกฎหมายของการควบคุมอาคาร คือ อาคารสูง อาคารของโรงแรม โรงมหรสพ อาคารที่มีการรวบรวมคนมาก ๆ กรมโยธาฯก็จะจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ๆไว้ หากเก็บมาเป็นแผนที่แล้วก็จะเป็นลักษณะคล้าย ๆแบบนี้ ว่าอาคารอยู่ที่ไหน เมื่อค้นหาก็จะพบในแผนที่ได้เลย สามารถบอกได้เลยว่า อาคารนี้เป็นของใคร มีกี่ชั้น ใครเป็นวิศวกรควบคุมก็สามารถตอบได้ เรื่องของแหล่งน้ำ และการใช้ประโยชน์ที่ดิน ก็มีความสำคัญเช่นกัน พื้นที่ไหนเป็นพื้นที่เขตอุตสาหกรรม เราสามารถนำแผนที่เข้าช่วยได้ ความสูงของภูมิประเทศมีความสำคัญขึ้นเรื่อย ๆเป็นต้นว่า เรามีปัญหาของเรื่องอุทกภัย โคลนดินถล่ม หากเราทราบความสูงของภูมิประเทศในลักษณะนี้เราจะเห็นว่า ว่าตรงไหนเป็นที่ลุ่ม เป็นพื้นที่ลาดเอียง มีน้ำไหลอาทิเช่น ที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการทำให้เห็นทิศทางของน้ำไหลของจังหวัดเชียงใหม่ สามารถรู้ถึงตำแหน่งของครัวเรือน เพื่อการพัฒนาเมื่อนำไปเชื่อมโยงกับข้อมูลเชิงบรรยายแล้วก็สามารถรู้ถึงว่าเป็นบ้านของใครเหล่านี้เป็นข้อมูลเชิงพื้นที่และเชิงบรรยาย
3. ข้อมูลบุคคล หากเราต้องการ Link ข้อมูลจากทะเบียนราษฎร นักวิเคราะห์ นักวางระบบต่าง ๆก็จะเก็บข้อมูล 13 หลักไว้ด้วย ข้อมูลบ้านตามทะเบียนราษฎร เป็นรหัสของ House ID ตัวรหัสประจำบ้าน Link ไปเชื่อมโยงกับบ้านนี้อย่างไร
4. ข้อมูลรายละเอียดของโครงการ เพื่อที่จะเอาระบบนี้มาวิเคราะห์ และนอกจากนี้ยังนำมาวิเคราะห์ในเรื่องของกราฟ แผนภูมิต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น แสดงความเร่งรัดของโครงการต.โพนงาม
5. ข้อมูลสถานการณ์ที่น่าสนใจ เป็นการเชื่อมโยงระหว่างเชิงพื้นที่กับเชิงบรรยาย ที่สามารถค้นหาข้อมูลผู้ติดเชื้อ HIV ข้อมูลสถานการณ์ไข้หวัดนก ข้อมูลสถานการณ์ความยากจน เพื่อการแก้ปัญหาความยากจน ฯลฯ

การเชื่อมโยงข้อมูลภูมิสารสนเทศ GIS กับ ข้อมูลสารสนเทศเชิงบรรยาย MIS
เป็นการเชื่อมโยงข้อมูลภูมิสารสนเทศแปลงที่ดินกับข้อมูลเจ้าของแปลงที่ดิน(ทะเบียนราษฎร์) เอกสารสิทธิ์ การถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินประเภทต่าง ๆ ในการที่จะพัฒนาโดยใส่ข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์เท่านั้น เพื่อนำไปต่อยอดแล้วทำอะไรได้มากขึ้น จากแปลงหนึ่งไปสู่อีกแปลงหนึ่งโดยการเชื่อมโยง สามารถค้นหาได้จาก House ID อาทิเช่น ที่จ.อ่างทอง สิ่งที่เขาทำโดยให้ อสม. ไปเก็บข้อมูลว่าหมู่บ้านใดมีคนพิการ และคนพิการมีหน้าตาอย่างไร สามารถบอกบ้านเลขที่ ของคนพิการนั้นได้

อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์
อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่จำเป็นหากเป็นงานระบบขนาดใหญ่ประกอบด้วยดังนี้
Ø Server มักจะเป็นเครื่องระดับ UNIX หรือ NT ที่มีความสามารถสูง
Ø Graphic Workstation มักจะเป็นเครื่องระดับ UNIX หรือ PC ที่ใช้จอกราฟฟิกที่มีความละเอียดและความเร็วค่อนข้างสูง
Ø Tape Backup System มักจะใช้เป็นแบบที่มีความจุและความเร็วสูง เนื่องจากข้อมูลมักจะมี ขนาดใหญ่และใช้เวลาในการ Backup นาน
Ø Plotter มักจะใช้ Inkjet Plotter สีเนื่องจากมีราคาไม่แพงมาก และบำรุงรักษาง่าย
Ø Digitizer Tablet ขนาด A0 หรือ A1 ที่มีความแม่นยำ (Accuracy)ค่อนข้างสูง

อุปกรณ์ซอฟท์แวร์
อุปกรณ์ซอฟท์แวร์ ที่สำคัญประกอบด้วย
Ø Operating System ใช้ในการควบคุมการทำงานของระบบ Hardware และติดต่อ User ได้แก่ ระบบ UNIX , Windows ,VMS เป็นต้น
Ø GIS Software ใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบ GIS
Ø Relational Database Management System ใช้ในกรณีที่มีการใช้ข้อมูลบรรยาย(Attribute)ขนาดใหญ่ ได้แก่Oracle,DB2,Sybase เป็นต้น
Ø GIS Application เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นโดยใช้ GIS Software เป็นเครื่องมือเพื่อให้ผู้ใช้งานได้อย่างสะดวก

กระบวนการของ GIS
ประกอบด้วย
1. การนำเข้าและจัดเก็บข้อมูล (Input and Store Data)
2. การวิเคราะห์ข้อมูล(Manipulate and Analysis)
3. รูปแบบการแสดงผลการวิเคราะห์(Output and Display)
· การนำเข้าและจัดเก็บข้อมูลควรคำนึงถึง
Ø Data Format
Ø Coordinate System
Ø Data Quality
Ø Inputting Data Method

· Data Format
การจัดเก็บข้อมูลเชิงพื้นที่ใน GIS สามารถทำได้ 2 รูปแบบคือ
1. Vector Format
2. Raster Format
Vector และ Raster จะนับเป็นพิกเซล คือจุดที่อยู่ในภาพ เก็บเป็น Vectorสิ่งที่จัดเก็บคือ Coordinate XY ที่เป็นพิกัดโลกก็คือ ละติจูด และ ลองติจูด แทนด้วย XY ในระบบคอมพิวเตอร์ ถ้ามีเรื่องของความสูงและเรื่องของ 3 มิติเข้ามาเกี่ยวข้องก็จะเป็น Z สิ่งที่จัดเก็บก็จะเป็น XYZ ค่า Z คือค่าแห่งความสูง ในการนำเสนอ เช่นเดียวกันในRaster Format สิ่งที่เราจะจัดเก็บมาเป็นถนนคือภาพที่เห็นเป็นสีแดงที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์นี้คือส่วนแรกที่เราจะจัดเก็บคืออะไร ก็คือมีVector และRaster นั่นเอง
· Coordinate System
คือ มาตรฐานหรือข้อจำกัด ข้อตกลงร่วมกันในการใช้ข้อมูลว่าเราจะใช้ข้อมูล coordinate System ในระบบไหน ระบบ UTM หรือระบบลองติจูด และละติจูด ปัจจุบันตัวsolfware GIS สามารถแสดงผลทันทีโดยที่เราไม่จำเป็นที่เราจะไปรู้ว่า ปรับหรือเปลี่ยนอย่างไร
เราบอกคอมพิวเตอร์เลยว่า เราจะใช้ ลองติจูด และละติจูดทำงาน เขาก็จะแสดงท่า ละติจูดและลองติจูดตลอดเวลา หรือเราต้องการให้ UTM เป็น XY ก็จะโชว์ให้เป็น XY ทันที
· Data Quality
คุณภาพของข้อมูลสามารถพิจารณาได้จาก
- Accuracy
- Precision
- Spatial Resolution
- Scale
· Accuracy
แบ่งเป็น 2 อย่างดังนี้คือ
1. Positional Accuracy
2.Attribute Accuracy

3. การประยุกต์ระบบภูมิสารสนเทศ(GIS)สำหรับงานบริหาร
สามารถที่จะทำให้เราตอบคำถามได้ และสามารถวิเคราะห์ได้ การประยุกต์ระบบGIS งานบริหารเป็นเรื่องของข้อมูลต่าง ๆ ดังนี้
· การบริหารปกครองภาครัฐ
- งานฐานข้อมูลที่ดิน การจัดการการเลือกตั้ง การป้องกันอุบัติภัย การวางผังเมือง การรักษากฎหมาย
· การพัฒนาประเทศ
- การวางแผนพัฒนาด้านเศรษฐกิจ การคมนาคม การสื่อสาร การพัฒนาสาธารณูปโภค การส่งเสริมการท่องเที่ยว
· การบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
- ป่าไม้ เหมืองแร่ ทรัพยากรธรณี ปิโตเลียม การเกษตร
· ธุรกิจ
- ด้านอสังหาริมทรัพย์ การตลาด การประกันภัย
ต้นทุนในการทำงาน GIS ค่อนข้างสูง ในการลงทุน 2 ปีแรก ท่านอาจจะเป็นการลงทุนของ Hardware Solfware ข้อมูล บุคลากร ก่อน มี Data พื้นฐานเข้าไป แต่ในระยะยาวควบคุมกันไปก็จะมีเรื่องของ Data เข้ามาเกี่ยวข้อง ถามว่าทำไมถึงทำเรื่องของ Data ตลอด เพราะข้อมูลแผนที่มีการเปลี่ยนแปลงทุกวัน
GIS PROJECT IMPLEMENTATION TIMELINE
ผลตอบแทนหรือกำไร ในระยะเวลาๆหนึ่ง แบ่งเป็น 3 ส่วนงาน คือ
1. System Development การพัฒนาระบบ
2. Application Development & Data Conversion พัฒนาโปรแกรมประยุกต์กับการเก็บข้อมูล
3. Implementation คือการใช้งานจริง

4.ตัวอย่างระบบภูมิสารสนเทศ(GIS) กับการบริหาร
ได้แก่ การจัดทำ GIS ของกระทรวงสาธารณสุข
การจัดทำ GIS ของกระทรวงเกษตรฯ เป็นต้น

***********************

credit : ยุทธนา ช่วงอรุณ นักวิเคราะห์ระบบภูมิสารสนเทศ บริษัท จีเอส อาร์ เอ แห่งประเทศไทย

1 ความคิดเห็น: