วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2552

จาจังมยอน(บะหมี่เกาหลี)

ส่วนผสม
น้ำมันพืช 1/2 ถ้วยตวง
เนื้อหมู
ต้นหอม
ซอยขิงหั่นเป็นแว่นเล็กๆ
หัวหอม
กระเทียม
จุงกุกทเวนจาง 1/2 ถ้วยตวง
เหล้าเกาหลีเล็กน้อย
น้ำซุป

วิธีทำ
ตั้งหม้อให้ร้อน ใส่น้ำมันนิดหน่อย ใส่หมู , ต้นหอม , ขิง ,
หัวหอม แล้วผัดให้สุก จากนั้นเติม
จุงกุกทเวนจาง , เหล้า , น้ำซุป รอจนเดือดตักใส่ชามรับประทานได้เลย




ขอขอบคุณ
ข้อมูลจากบล็อคโอเคเนชั่น

วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ศัพท์พื้นฐานวิทยาศาสตร์โลก

Active Fault
รอยเลื่อนมีพลัง หมายถึง รอยเลื่อนที่จะมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นอีกในอนาคต รอยเลื่อนที่จัดว่าเป็นรอยเลื่อนมีพลังต้องมีการเคลื่อนที่อย่างน้อยหนึ่งครั้งภายในระยะเวลา 10,000 ปี


รอยเลื่อนอีเมอร์สันในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา รอยแยกที่ปรากฏให้เห็นบนพื้นผิวเกิดจากแผ่นดินไหวขนาด 7.2 ริคเตอร์ เมื่อ ค.ศ. 1992
---------------------------------------------------------------------------------------------

Alluvium
ตะกอนน้ำพา เป็นกรวด หิน ตะกอน ดิน ทราย เลน ที่ทับถมกันจากการพัดพามาของกระแสน้ำ
Alluvium ตะกอนน้ำพา: กรวด หิน ดิน ทราย และสิ่งอื่น ๆ ที่น้ำนำพาไปสะสมตัว ณ บริเวณใดบริเวณหนึ่ง เช่น ตามร่องน้ำ เรียกว่า สิ่งทับถมร่องน้ำ (channel-filled deposit) ตามที่ราบน้ำท่วมถึง เรียกว่า สิ่งที่ทับถมที่ราบน้ำท่วมถึง (flood plain deposit) ตามพื้นทะเลสาบ เรียกว่า สิ่งทับถมในทะเลสาบ (lacustrine deposit)



ตะกอนน้ำพาสองฝั่งแม่น้ำซอลต์ มลรัฐอาริโซน่า สหรัฐอเมริกา
-------------------------------------------------------------------------------------------

Blind thrust fault

รอยเลื่อนย้อนบัง เป็นรอยเลื่อนย้อนที่ไม่ปรากฏร่องรอยที่พื้นผิว แต่อยู่ลึกลงไปในชั้นหินใต้เปลือกโลก


แสดงลักษณะของรอยเลื่อนย้อนบัง
-------------------------------------------------------------------------------------------



Core
แก่นโลก ส่วนที่อยู่ในสุดของโลก แก่นโลกชั้นนอกอยู่ที่ระดับลึกจาก 2,500 ถึง 3,500 ไมล์ มีลักษณะเป็นโลหะเหลว แก่นโลกชั้นในอยู่ถัดจากแก่นโลกชั้นนอกไปจนถึงใจกลางโลก มีลักษณะเป็นโลหะแข็ง
core แก่นโลก: ส่วนชั้นในสุดของโลกใต้แนวแบ่งเขตวิเชิร์ต-กูเทนเบิร์กประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลเป็นส่วนใหญ่ มีความหนาแน่นมาก มีรัศมียาวประมาณ 3,440 กม. แบ่งออกเป็นสองชั้นคือ แก่นโลกชั้นใน (inner core) อยู่ในระดับความลึกจากผิวโลกระหว่าง 5,000 กม. กับจุดศูนย์กลางโลก (ประมาณ 6,370 กม.) และแก่นโลกชั้นนอก (outer core) อยู่ในระดับความลึกจากผิวโลกระหว่าง 2,900 กม. กับ 5,000 กม.

โครงสร้างของโลก (ปรับปรุงจาก http://www.pbs.org/wnet/savageearth/animations/hellscrust/index.html)
--------------------------------------------------------------------------------------------

ภูมิศาสตร์น่ารู้ ... อ่าวไทย

ประเทศไทย นับว่าเป็นประเทศหนึ่งที่มีอาณาเขตจดทะเลมีความยาวของขอบฝั่งกว่า 2,400 กิโลเมตร ติดกับทะเล 2 ส่วนด้วยกัน คือ ทะเลฝั่งอ่าวไทย และฝั่งทะเลอันดามัน อ่าวไทยในอดีตมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรสัตว์น้ำนานาพันธุ์ ที่เข้ามาหากินขยายพันธุ์และใช้เป็นที่หลบภัยจากคลื่นลมเนื่องจากอ่าวไทยมีกองหินธรรมชาติ ป่าชายเลน แนวปะการังรวมถึงมีแม่น้ำใหญ่หลายสายที่พัดพาอาหารของสัตว์ทะเลและแร่ธาตุต่างๆลงสู่อ่าวไทย คนไทยมีการใช้ประโยชน์จากทะเลในด้านต่างๆ มาตั้งแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบัน สาเหตุนี้ทำให้ทะเลในปัจจุบัน โดยเฉพาะทางด้านอ่าวไทยทรัพยากรต่างๆ เช่น สัตว์น้ำชนิดต่างๆ คุณภาพน้ำ เกิดความเสื่อมโทรมลงเป็นอย่างมาก ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบนิเวศน์ในทะเลทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้ยังมีผลกระทบต่อคนไทยและสิ่งแวดล้อมของโลกอีกด้วย ซึ่งมูลนิธิสวัสดีได้เล็งเห็นถึงผลกระทบจากปัญหาข้อนี้ จึงได้ดำเนินงานโครงการต่างๆเพื่อบูรณาการทรัพยากรทางทะลที่มีค่านี้ให้พื้นกลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง

ดังนั้นภูมิศาสตร์น่ารู้ฉบับนี้จึงขอเสนอเรื่องของ อ่าวไทยตามลักษณะทางกายภาพและที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของอ่าวไทย อธิบายได้ว่า อ่าวไทยถูกแบ่งเป็นสองตอน คือ อ่าวไทยตอนบนและอ่าวไทยตอนล่าง อ่าวไทยตอนบนเริ่มนับจากเส้นรุ้งที่ 12 องศา30 ลิปดาเหนือจนถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยามีรูปร่างคล้ายๆตัว "ก" มีความลึกเฉลี่ยประมาณ 15 เมตร เป็นที่รวมทางออกสู่ทะเลของแม่น้ำใหญ่ๆที่สำคัญ 4 สาย คือ แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำบางปะกง ส่วนอ่าวไทยตอนล่างนับจากเส้นรุ้งที่ 12 องศา 30 ลิปดาเหนือลงไปหาเส้นศูนย์สูตรจนถึงเส้นขวางระหว่างแหลมคาเมาประเทศเวียดนามกับปากแม่น้ำโกตาบารูทางตอนใต้สุดของจังหวัดนราธิวาส มีความลึกเฉลี่ย 45 เมตร นักวิทยาศาสตร์ทั่วไปมักจะเรียกอ่าวไทยว่า "อ่าวหิ้ง" เพราะว่าเป็นอ่าวปิดด้านหนึ่งและเปิดด้านหนึ่ง มีความลึกน้อยมาก จุดที่ลึกที่สุดอยู่ประมาณกลางอ่าวไทย และค่อยๆตื้นขึ้นตาม ความลาดชันของขอบฝั่งทะเล

เนื่องจากอ่าวไทยเป็นอ่าวตื้นจึงเกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติหลายอย่างเช่นน้ำขึ้น - น้ำลง การขยอกตัวของมวลน้ำพายุ คลื่นลม และกระแสน้ำนอกจากนี้ยังมีการถ่ายเทมวลน้ำจากทะเลจีนตอนใต้มาหล่อเลี้ยงให้มีการหมุนเวียน ตามฤดูกาล คือเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคมจะได้รับอิทธิพลของลมตะวันออกเฉียงเหนือผลักดันให้มวลน้ำจากทะเลจีนใต้ไหลเข้าสู่ อ่าวไทย แต่ในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฏาคม ระดับน้ำในอ่าวไทยจะลดลงเพราะลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะพัดให้มวลน้ำในอ่าวไทยไหลออกสู่ทะเลจีนตอนใต้

การเกิดน้ำขึ้นน้ำลงในอ่าวไทยจะเกิดขึ้นทุกวันตามอิทธิพลของแรงดึงดูดระหว่างโลกกับดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์อื่น แต่ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากกว่า ดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ใดๆจึงมีกำลังมากที่สุด โดยปรกติแล้วชาวประมงจะสังเกตเวลาของน้ำขึ้น -น้ำลงด้วยการดูดวงจันทร์ ถ้าเห็นดวงจันทร์โผล่ขอบฟ้าจะเรียกเวลาน้ำลง ถ้าเห็นดวงจันทร์อยู่ตรงศรีษะเมื่อใด ก็บอกได้ว่าเป็นเวลาน้ำขึ้น ตามปรกติจะเกิดน้ำขึ้น-น้ำลง วันละสองครั้งเสมอแต่บางตำบลของอ่าวไทยจะเกิดเพียงครั้งเดียวในหนึ่งวันเนื่องจากอ่าวไทยเป็นอ่าวตื้น มีก้นอ่าวขรุขระไม่ราบเรียบการเดินทางของคลื่นน้ำขึ้น-น้ำลง จึงไม่สม่ำเสมอกัน เมื่อคลื่นน้ำขึ้นเดินทางเข้ามาในอ่าวแล้ว ก็จะสะท้อนกลับทำให้เกิดแรงหักล้างกันและเป็นผลให้มีน้ำขึ้นน้ำลงเหลือเพียงวันละหนึ่งครั้ง

ประเทศไทยนับว่าโชคดีมากที่มีธรรมชาติโอบอุ้มให้รอดพ้นจากคลื่นแรง-ลมจัด ไว้ได้เกือบทุกปี นอกจากบางปีที่มีพายุความกดอากาศต่ำ (ดีเปรสชั่น) หลุดรอดแหลมญวนเข้ามาได้ เกิดเป็นวาตภัยและอุทกภัยขึ้น ยังความเสียหายแก่พื้นที่ที่ไก้รับอิทธิพลเป็นอย่างยิ่ง ตัวอย่างเช่น พ.ศ.2505 ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและ 2513 ที่จังหวัดสุราษฏร์ธานีเป็นต้นเราจะเห็นได้ว่าจากข้อมูลต่างๆในข้างต้น อ่าวไทยมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อคนไทย เป็นแหล่งอาหาร ทรัพยากรทางทะเลแร่ธาตุต่างๆ รวมถึงเป็นระบบนิเวศน์ที่สำคัญของโลก ทรัพยากรต่างๆในอ่าวไทยมีอยู่อย่างจำกัดและรักษาสมดุลย์ตามธรรมชาติ มนุษย์เป็นตัวการสำคัญที่เข้าไปทำลายความสมดุลย์ของระบบ เราจะพบความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำในปัจจุบันเทียบไม่ได้กับเมื่อ 30 ปี หรือ 20 ปี ปีที่ผ่านมา
หากคนไทยยังขาดจิตสำนึกในการดูแลทรัพยากรปล่อยให้มีการจับสัตว์น้ำแบบทำลายล้างโดยไม่มีการหยุดเพื่อให้สิ่งต่างๆได้มีโอกาสพื้นตัวยังคงปล่อยให้มีการทำลายปะการังธรรมชาติ,ป่าชายเลนและยังคงปล่อยของเสียและวัตถุอันตรายในอ่าวไทย ในอนาคตข้างหน้าเราอาจจะขาดแหล่งอาหารที่สำคัญไปโดยที่มิอาจจะแก้ไขให้กลับมาได้

นอกจากนี้จากนโยบายการพัฒนาประเทศไปสู่ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ ส่งผลให้มีการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมและท่าเรือน้ำลึกเพื่อการอุตสาหกรรมขึ้นที่ภาคตะวันออกตัวอย่างเช่น การถมทะเลในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยองของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.)ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของของอ่าวไทยบริเวณจังหวัดระยองคือ ชายหาดกำลังถูกกัดเซาะทำลาย โดยเฉพาะบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดไปจนถึงโรงงานของกลุ่มบริษัทในครือ ทีพีไอ ระยะทางกว่า 50 กิโลเมตร

โดยขณะนี้ชายหาดบางส่วนได้ถูกกัดเซาะหายไปหมดแล้วหลือเพียงชื่อและคำบอกเล่าถึงหาดที่ครั้งหนึ่งเคยมีอยู่และมีความสวยงาม สาเหตุมาจากโครงการถมทะเลของการถมทะเลนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและกลุ่มโรงงาน ทีพีไอ ทำให้กระแสน้ำเปลี่ยนทิศทางการไหล หาดทรายถูกกัดเซาะ สร้างความเสียหายที่มิอาจประเมินค่าได้และยากที่จะแก้ไขให้เหมือนเดิม นอกจากนี้การถมทะเลยังส่งผลกระทบต่อการดำรงชีพของชาวบ้านโดยเฉพาะชาวประมงในพื้นที่ รวมถึงระบบนิเวศน์ในทะเล จากปัญหาสารปนเปื้อนที่เป็นอันตราย ความขุ่นและตะกอนสารแขวนลอยอีกด้วย



แผนที่แสดงทิศทางของกระแสน้ำ แผนที่แสดงทิศทางของกระแสน้ำ
ในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้



วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

มีโปรแกรม อะไร? ที่สามารถเช็คในวงแลนว่ามีโหลดบิทอยู่

จากปัญหาคือ ในหอพบว่ามีคนใช้ บิทอยุ่ซึ่งมันดึงเน็ตมาก
พอดีผมเ้ข้ามาอ่านในกระทู้ หัวข้อ TIP: เรียนรู้การหาคนเล่น bit และ NetCut จาก wireshark traffic ของคุณ CyberJiab
http://www.beartai.com/webboard/index.php?topic=28961.0
ก็ลองใช้ดู แต่หอพักผมน่าจะใช้ switch ผมเช็คดู มันมองไม่เห็น UDP จากกเครืองอื่น ส่วนใหญ่มันจะบอกแต่เครืองผมเอง แต่ในกรณีของ เน็ตคัตมองเห็นครับว่า มีคนใช้ เหมือนว่า ถ้าใช้ Hub จะมองเห็นคนที่โหลดบิทอยู่

-ถ้าใช้ โปรแกรม wireshark ต้อง ใช้อย่างไรครับถ้ามันเป็น switch
-แล้ว เราจะสามารถ config switch หรือ Router ไม่ให้คนใช้บิทได้ไหมครับ
-โปรแกรม wireshark นี่มีเวอร์ชั่นเดียวรึป่าวครับ
-โหลดบิท ใช้การเชื่อมต่อแบบ UDP โหลดธรรมดากับเว็บ ใช้การเชื่อมต่อแบบ TCP ใชหรือเปล่าครับ แล้ว พวกเกมส์ออนไลน์มันใช้ protocal แบบไหนครับ
-เน็ตที่หอใช้ 4M แต่ตอนนี้ วิ่งกันแค่ 600-700 kbps นอกจาก บิทแล้ว มีอะไรที่ทำให้เน็ตมัน ดาวน์ได้ขนาดนี้อ่ะครับ

สามารถเอา
มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวาง โทษจำคุก ไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ไปใช้ได้กับคนโหลดบิทไหมครับ( ผมคิดว่าน่าได้นะครับเพราะมัน ดึงสัญญาณเน็ต ทำให้ห้องอื่นใช้งานไม่ปกติ)

credit : http://www.beartai.com/webboard/index.php?topic=55991.0

DataTransfer, Traffic, Bandwidth คืออะไร

ความแตกต่างของ DataTransfer, Traffic, Bandwidth ของโฮสติ้ง

เรามาทำความเข้าใจถึงข้อแตกต่างของสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ก่อนครับ

Data Transfer หมายถึง การรับส่งข้อมูล
Traffic หมายถึง การจราจรของข้อมูล
Bandwidth หมายถึง ความกว้างของขนาดข้อมูล

Data Transfer มีหน่วยเป็น Byte ซึ่ง ในความเป็นจริงแล้วผู้ให้บริการ โฮสติ้ง ต่าง ๆ ก็ให้ปริมาณ Data Transfer ในส่วนนี้เยอะกันทุกรายอยู่แล้วครับ สาเหตุที่บางผู้ให้บริการบอกว่าไม่จำกัดจำนวน Data Transfer นั่นเพราะว่า ทางผู้ให้บริการไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เพิ่มเติม นอกจากค่าวางเครื่อง Server ที่ Data Center เท่านั้น ซึ่งตรงจุดนี้ถูกนำมาเป็นจุดขายของหลาย ๆ ผู้ให้บริการ โฮสติ้ง ครับ

Traffic มีหน่วยเป็น Byte ต่อวินาที ในส่วนของ Traffic เรามักจะดูในเรื่องของปริมาณ ว่ามากน้อยเพียงใด โดยอ้างอิงจากช่วงเวลาเป็นหลัก เช่น หากผู้ให้บริการ โฮสติ้ง บอกว่ามี Data Transfer ให้เท่านี้ แต่ในช่วงเวลาหนึ่งเราเกิดเข้าเว็บไซต์ของเราไม่ได้ หรือเปิดเว็บไซต์ไม่ได้ นั่นอาจจะเป็นเพราะว่าในช่วงเวลานั้น ๆ มีผู้ใช้บริการเครื่อง Server เยอะมาก ๆ นั่นคือมีผู้ Request ข้อมูลจาก Server เป็นจำนวนมากในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ซึ่งเกินปริมาณ Bandwidth ที่รับได้ครับ

Bandwidth มีหน่วยเป็น Byte เช่นกัน แต่ส่วนใหญ่ จะมีระดับตั้งแต่ Megabyte ขึ้นไป ในส่วนของ Bandwidth จะแบ่งเป็น Local Bandwidth และ Inter Bandwidth ซึ่งตรงนี้ต้องดูให้ชัดเจนครับ ตามปกติแล้วผู้ให้บริการที่เป็น Data Center จะทำการสร้าง Link เข้าไปเชื่อมต่อกับ ISP ( Internet Service Provider ) ซึ่งจะซื้อได้ในแต่ละ ISP ในปริมาณที่ต่าง ๆ กัน มองให้ง่าย ๆ ก็คือ ตัว IDC หรือ Data Center พยายามสร้างท่อเพื่อการส่งข้อมูลไปยัง ISP ต่าง ๆ นั้นหมายความว่า หาก IDC ได้สร้างท่อที่มีขนาดใหญ่ ก็จะทำให้การเรียกชมเว็บไซต์ ไม่มีข้อติดขัดมากนัก แต่หากท่อเล็ก ย่อมมีปัญหาที่เกี่ยวพันกับเรื่องของ Traffic นั้นคือ ในช่วงเวลาใด ๆ ก็ตามที่มีการเรียกข้อมูลมาก ๆ จากหลาย ๆ Client (ผู้ใช้บริการเว็บไซต์ของคุณ) เมื่อปริมาณ Traffic สูงมากในช่วงวินาทีนั้น จนเต็ม Bandwidth แล้ว ก็จะไม่สามารถเรียกข้อมูลจาก Server ผ่าน ISP นั้นได้เลย

สรุปข้อแตกต่างของ Data Transfer, Traffic และ Bandwidth

ในกระบวนการเริ่มต้นของการใช้งาน เว็บโฮสติ้ง ย่อมเกี่ยวพันกับ Data Transfer เิป็นหลักครับ นั้นคือปริมาณการรับส่งข้อมูลภายใต้ Virtual Host ของคุณ หรือภายใต้ โดเมนเนม ของคุณนั้นเอง ( Data Transfer รวมถึงการ Upload และ Download จาก Client ทั้งหมด ) ผู้ให้บริการมักจะให้ปริมาณในส่วนนี้อย่างเพียงพอกับความต้องการของคุณ เนื่องจากเป็นส่วนที่ไม่ได้มีค่าใช้จ่ายใด ๆ เพิ่มเติม หรือด้วยเหตุผลของการให้น้อยนั้น เนื่องจากปัญหาในเรื่องของ Traffic ที่จะเกิดขึ้นในช่วงเวลา Peek Time (ช่วงเวลาที่มีคนเข้ามากที่สุด 11.00-14.00 และ 18.00-21.00 น) ซึ่งการจำกัด Data Transfer จะทำให้สามารถจำกัดการใช้งานของ เว็บไซต์ ต่าง ๆ ได้ แต่.....มองอีกแง่นึงคือเรื่องของผลกำไรที่มากขึ้น ของผู้ให้บริการ โฮสติ้ง (ตรงนี้แล้วแต่ policy ของแต่ละองค์กรครับ)

เมื่อคุณเริ่มใช้บริการ โฮสติ้ง แล้วกระบวนการต่อมาที่คุณต้องเกี่ยวข้องคือ Traffic ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับ Bandwidth อย่างมาก นั่นคือ เมื่อมีคนเข้าชมเว็บไซต์ของคุณ จะถูกระบบเก็บบันทึกข้อมูลว่ามีการเรียก (Request) ข้อมูลจากเครื่อง Server ภายใต้โดเมนของคุณ ไปเป็นปริมาณเท่าไหร่ต่อเดือน และในช่วงเวลาไหนที่มีผู้เข้าชมมากที่สุด คิดเป็น Traffic เท่าไหร่ และหากปริมาณ Traffic ในช่วงเวลาดังกล่าวเกินจาก Bandwidth ที่มี คุณก็จะไม่สามารถเรียกชมเว็บไซต์ของคุณได้ ซึ่งเกิดมากจากปัญหาของการเต็มของ ท่อข้อมูลนั่นเอง

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ระบบภูมิสารสนเทศ (GIS) สำหรับนักบริหาร

สวัสดีทุกท่าน วันนี้เป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มาพบปะทุกท่านที่กำลังจะก้าวเข้าสู่ผู้บริหารระดับกลางต่อไป ยินดีกับทุกท่านที่ได้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น ในเรื่องของ GIS (Georgramphy Information System) ระบบภูมิสารสนเทศสำหรับนักบริหาร นั้นมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับในยุคปัจจุบันซึ่งมีหัวข้ออยู่ 4 หัวข้อดังนี้คือ
1. เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ
2. องค์ประกอบของระบบภูมิสารสนเทศ (GIS)
3. การประยุกต์ระบบภูมิสารสนเทศ(GIS)สำหรับงานบริหาร
4. ตัวอย่างระบบภูมิสารสนเทศ(GIS) กับการบริหาร

1. เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ A map is worth thousand reports
ความคิดแรก ๆเกิดจากเรื่องของแผนที่ มีประโยคๆหนึ่งแทนได้เป็นพัน ๆคำ เมื่อเข้าไปดูรูปภาพที่เราเห็น ตัวภาพที่เห็น เขาบรรยายเหตุการณ์ สถานการณ์ตอนนั้น ให้เราฟังรวมแล้วก็เป็นพันคำ
เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ เป็นแผนที่ที่เก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีข้อมูลเชิงบรรยายเข้ามาเกี่ยวข้องทางด้านกราฟฟิก ข้อมูลทางด้านภูมิประเทศ หากเรามองแผนที่ๆหนึ่ง จะได้จากแผนที่คือ เรื่องของตำแหน่ง ดูแผนที่เพื่อให้ทราบตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง ดูเพื่อให้ทราบพื้นที่ สิ่งเหล่านี้ก็จะเป็นการนำมาประมวลผลต่อไป
สรุปก็คือ เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีสำหรับการสำรวจ จัดสร้าง จัดการ วิเคราะห์ ใช้งาน และนำเสนอข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ นี้คือคำจำกัดความเบื้องต้นของคำว่าเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ เพื่อที่จะให้ท่านก้าวไปอีกขั้นหนึ่งเพื่อนำมาใช้ในการบริหารงานต่อไป
สมมติว่า เรามีโลกอยู่ใบหนึ่ง ที่เป็นโลกจริง ๆ เพื่อจัดทำเป็นแผนที่โดยแยกเป็นชิ้น ๆแล้วเก็บไว้ในฐานขัอมูล แล้วถึงนำมาวิเคราะห์ใช้ในการตัดสินใจ ใช้ในการวางแผน ใช้ในการมอนิเตอร์งานต่าง ๆ ในพื้นที่หรือในองค์กรที่เราอยู่ นี้คือภาพรวมของข้อมูลเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศสำคัญอย่างไร ?
มีความสำคัญดังนี้ คือ
· ข้อมูลที่มนุษย์ต้องการเกือบทั้งหมด เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆบนโลก
· ข้อมูลตำแหน่งที่ตั้งของสิ่งต่าง ๆบนโลก ที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจของมนุษย์
· ช่วยให้มีฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศ(แผนที่) ที่จัดเก็บในรูปแบบข้อมูลดิจิตอล
· ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจ

เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ตอบคำถามอะไร ?
นั่นคือ เป็นข้อมูลที่ตอบคำถามอะไรให้แก่เรา คือ
Where - เดินทางไปที่ไหน เราใช้แผนที่ในการตอบ
How Far - ไกลเท่าไหร่
How big - พื้นที่มีขนาดเท่าไหร่ สามารถใช้ได้เกือบทุกรื่อง อาทิเช่น เรื่องของที่ดินขอบเขตการปกครอง
Connected to - มีความเชื่อมโยงกันแบบไหน จังหวัดที่อยู่ใกล้เคียงเรา มีผลกระทบที่ไหน เช่น เรื่องน้ำท่วมของจังหวัดน่าน ใช้แผนที่เข้าไปช่วยในการจัดทำ ทิศทางนำไหลไปทางไหน ใช้ข้อมูลไปช่วยวางแผนป้องกัน

ในการจำลองเขาทำอย่างไร เขียว ๆฟ้า ๆ เป็นพื้นที่โลก ข้อมูลของแปลงที่ดิน ข้อมูล GIS เป็นแปลง ๆหนึ่ง ๆ เช่น ชั้นของความสูง เป็นหนึ่งชั้นข้อมูล ข้อมูลมีถนน ทำเลเยอร์ถนนขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง หากเก็บแล้ว นำข้อมูลมาซ้อนกันก็จะเห็น แบบจำลองของพื้นที่ออกมา ภาพหลักที่เราใช้ในปัจจุบัน ข้อมูลที่เราไปสำรวจเขาจะเก็บเป็นชั้น ๆ อาทิเช่น นี้คือ ภาพกว้างของข้อมูลสารสนเทศก็คือ เรื่องของแผนที่นั่นแหละเพื่อนำไปวิเคราะห์

2. องค์ประกอบของระบบภูมิสารสนเทศ (GIS)ประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆดังต่อไปนี้
· ข้อมูล
· อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์
· อุปกรณ์ซอฟท์แวร์
· กระบวนการบุคลากร
ข้อมูล
ข้อมูลเชิงภูมิศาสตร์ประกอบด้วย
Ø ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data)
Ø ข้อมูลเชิงบรรยาย (Attributes)
Ø เวลา (Time)
Ø ข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยายมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน

· ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data)
สิ่งต่าง ๆที่ปรากฎบนพื้นโลก ล้วนสามารถกำหนดที่ตั้งลงไปได้
1.ข้อมูลเชิงพื้นที่(Spatial Data) ก็คือ ข้อมูลที่เป็นกราฟฟิก เป็นข้อมูลที่มีรายละเอียดในด้านแผนที่ต่าง ๆจะเห็นเป็นข้อมูลของถนน เป็นต้น
2.ข้อมูลเชิงบรรยาย(Attributes) คือ ข้อมูลที่เป็น Excel ข้อมูลเชิงบรรยายของจังหวัด ข้อมูลของตัวชี้วัดของกระทรวงมหาดไทยที่จะนำมาใช้
3.เรื่องของเวลา (Time) ความแตกต่างของการใช้ที่ดินแต่ละช่วงเวลา คำว่า เวลา เป็นข้อมูลของพิ้นที่หรือ เชิงบรรยาย มีความทันสมัยไหม สามารถนำไปวิเคราะห์ต่อได้ไหม
4.ในการจะนำ GIS ไปใช้งานทั้ง 2 อันนี้ต้องสามารถเชื่อมโยงกันได้ เพื่อนำไปใช้งานได้ต่อไป
ข้อมูลแผนที่และเชิงบรรยาย สามารถ Link กันได้ ข้อมูล GIS แผนที่ สามารถแบ่งเป็น Raster เป็นภาพถ่ายจากดาวเทียม ภาพถ่ายจากการบินถ่าย อาทิเช่น ภาพถ่ายออร์โธสีกระทรวงเกษตร ฯ โดยใช้ 1 : 4,000 คิดระวางละ 500 บาท เป็นภาพสีมีความละเอียด 0.5 เมตร 1 ซ.ม = 4,000 ซ.ม สามารถมองเห็นระยะไกล เห็นบ้าน เห็นต้นไม้ บ้านเป็นอย่างไร ส่วนของกระทรวงมหาดไทยการจัดที่ดินแก้ปัญหาความยากจน รวมหลาย ๆหน่วยงานที่เกี่วข้อง มองถึงความยากจน ขาดที่ดินทำกิน เพื่อนำที่ดินป่าเสื่อมโทรมมาจัดสรรที่ดินให้แก่ผู้ยากจน
Vector : เป็นข้อมูลกายภาพพื้นฐาน เป็นข้อมูลที่กำหนดพิกัด เหมือนการลากเส้นวาดขึ้นมาในระบบของแผนที่ (GIS) ข้อมูลที่เป็น Vector แบ่งเป็นชั้นข้อมูลหลัก ๆ
1. ชั้นแรก เป็นขอบเขตของการปกครองนำเสนอโดยพื้นที่ปิด อาทิเช่น ขอบเขตของการปกครองประเทศไทย แบ่งเป็นระดับของจังหวัด อำเภอ ตำบล เหล่านี้ไม่ได้ชัดเจนเหมือนราชกิจจานุเบกษาว่า แปลงนี้อยู่ตรงไหน แต่จะต้องลงไปในพื้นที่จริง ๆถึงจะรู้
2. ข้อมูลเส้นทางคมนาคม และโครงข่ายถนน นำข้อมูล Laster มาวางก่อนแล้วนำข้อมูล Vector มาซ้อนทับ เราก็มีข้อมูลโครงข่ายถนน ข้อมูลถนนมีความสำคัญมาก เพราะว่าเราจะเดินทางไปทางไหนก็ต้องมีข้อมูลถนนเข้ามาเกี่ยวข้อง ในการวิเคราะห์เรื่องอะไรก็ตามก็จะต้องมีเรื่องถนน ข้อมูลเชิงเส้นถัดมาก็คือ ข้อมูลทางรถไฟ อันนี้ก็มีความสำคัญในการใช้งาน ข้อมูลของกลุ่มอาคาร เทคโนโลยีของ GIS ในปัจจุบันทั้ง 2 มิติ กับ 3 มิติ ทำให้อาคารที่เป็นแบน ๆออกมาที่เป็นตึกเป็นชั้นทำให้มีความสูงขึ้นมาได้ อาทิเช่น งานของกรมโยธาธิการและผังเมือง เขาก็มีกฎหมายของการควบคุมอาคาร คือ อาคารสูง อาคารของโรงแรม โรงมหรสพ อาคารที่มีการรวบรวมคนมาก ๆ กรมโยธาฯก็จะจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ๆไว้ หากเก็บมาเป็นแผนที่แล้วก็จะเป็นลักษณะคล้าย ๆแบบนี้ ว่าอาคารอยู่ที่ไหน เมื่อค้นหาก็จะพบในแผนที่ได้เลย สามารถบอกได้เลยว่า อาคารนี้เป็นของใคร มีกี่ชั้น ใครเป็นวิศวกรควบคุมก็สามารถตอบได้ เรื่องของแหล่งน้ำ และการใช้ประโยชน์ที่ดิน ก็มีความสำคัญเช่นกัน พื้นที่ไหนเป็นพื้นที่เขตอุตสาหกรรม เราสามารถนำแผนที่เข้าช่วยได้ ความสูงของภูมิประเทศมีความสำคัญขึ้นเรื่อย ๆเป็นต้นว่า เรามีปัญหาของเรื่องอุทกภัย โคลนดินถล่ม หากเราทราบความสูงของภูมิประเทศในลักษณะนี้เราจะเห็นว่า ว่าตรงไหนเป็นที่ลุ่ม เป็นพื้นที่ลาดเอียง มีน้ำไหลอาทิเช่น ที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการทำให้เห็นทิศทางของน้ำไหลของจังหวัดเชียงใหม่ สามารถรู้ถึงตำแหน่งของครัวเรือน เพื่อการพัฒนาเมื่อนำไปเชื่อมโยงกับข้อมูลเชิงบรรยายแล้วก็สามารถรู้ถึงว่าเป็นบ้านของใครเหล่านี้เป็นข้อมูลเชิงพื้นที่และเชิงบรรยาย
3. ข้อมูลบุคคล หากเราต้องการ Link ข้อมูลจากทะเบียนราษฎร นักวิเคราะห์ นักวางระบบต่าง ๆก็จะเก็บข้อมูล 13 หลักไว้ด้วย ข้อมูลบ้านตามทะเบียนราษฎร เป็นรหัสของ House ID ตัวรหัสประจำบ้าน Link ไปเชื่อมโยงกับบ้านนี้อย่างไร
4. ข้อมูลรายละเอียดของโครงการ เพื่อที่จะเอาระบบนี้มาวิเคราะห์ และนอกจากนี้ยังนำมาวิเคราะห์ในเรื่องของกราฟ แผนภูมิต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น แสดงความเร่งรัดของโครงการต.โพนงาม
5. ข้อมูลสถานการณ์ที่น่าสนใจ เป็นการเชื่อมโยงระหว่างเชิงพื้นที่กับเชิงบรรยาย ที่สามารถค้นหาข้อมูลผู้ติดเชื้อ HIV ข้อมูลสถานการณ์ไข้หวัดนก ข้อมูลสถานการณ์ความยากจน เพื่อการแก้ปัญหาความยากจน ฯลฯ

การเชื่อมโยงข้อมูลภูมิสารสนเทศ GIS กับ ข้อมูลสารสนเทศเชิงบรรยาย MIS
เป็นการเชื่อมโยงข้อมูลภูมิสารสนเทศแปลงที่ดินกับข้อมูลเจ้าของแปลงที่ดิน(ทะเบียนราษฎร์) เอกสารสิทธิ์ การถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินประเภทต่าง ๆ ในการที่จะพัฒนาโดยใส่ข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์เท่านั้น เพื่อนำไปต่อยอดแล้วทำอะไรได้มากขึ้น จากแปลงหนึ่งไปสู่อีกแปลงหนึ่งโดยการเชื่อมโยง สามารถค้นหาได้จาก House ID อาทิเช่น ที่จ.อ่างทอง สิ่งที่เขาทำโดยให้ อสม. ไปเก็บข้อมูลว่าหมู่บ้านใดมีคนพิการ และคนพิการมีหน้าตาอย่างไร สามารถบอกบ้านเลขที่ ของคนพิการนั้นได้

อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์
อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่จำเป็นหากเป็นงานระบบขนาดใหญ่ประกอบด้วยดังนี้
Ø Server มักจะเป็นเครื่องระดับ UNIX หรือ NT ที่มีความสามารถสูง
Ø Graphic Workstation มักจะเป็นเครื่องระดับ UNIX หรือ PC ที่ใช้จอกราฟฟิกที่มีความละเอียดและความเร็วค่อนข้างสูง
Ø Tape Backup System มักจะใช้เป็นแบบที่มีความจุและความเร็วสูง เนื่องจากข้อมูลมักจะมี ขนาดใหญ่และใช้เวลาในการ Backup นาน
Ø Plotter มักจะใช้ Inkjet Plotter สีเนื่องจากมีราคาไม่แพงมาก และบำรุงรักษาง่าย
Ø Digitizer Tablet ขนาด A0 หรือ A1 ที่มีความแม่นยำ (Accuracy)ค่อนข้างสูง

อุปกรณ์ซอฟท์แวร์
อุปกรณ์ซอฟท์แวร์ ที่สำคัญประกอบด้วย
Ø Operating System ใช้ในการควบคุมการทำงานของระบบ Hardware และติดต่อ User ได้แก่ ระบบ UNIX , Windows ,VMS เป็นต้น
Ø GIS Software ใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบ GIS
Ø Relational Database Management System ใช้ในกรณีที่มีการใช้ข้อมูลบรรยาย(Attribute)ขนาดใหญ่ ได้แก่Oracle,DB2,Sybase เป็นต้น
Ø GIS Application เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นโดยใช้ GIS Software เป็นเครื่องมือเพื่อให้ผู้ใช้งานได้อย่างสะดวก

กระบวนการของ GIS
ประกอบด้วย
1. การนำเข้าและจัดเก็บข้อมูล (Input and Store Data)
2. การวิเคราะห์ข้อมูล(Manipulate and Analysis)
3. รูปแบบการแสดงผลการวิเคราะห์(Output and Display)
· การนำเข้าและจัดเก็บข้อมูลควรคำนึงถึง
Ø Data Format
Ø Coordinate System
Ø Data Quality
Ø Inputting Data Method

· Data Format
การจัดเก็บข้อมูลเชิงพื้นที่ใน GIS สามารถทำได้ 2 รูปแบบคือ
1. Vector Format
2. Raster Format
Vector และ Raster จะนับเป็นพิกเซล คือจุดที่อยู่ในภาพ เก็บเป็น Vectorสิ่งที่จัดเก็บคือ Coordinate XY ที่เป็นพิกัดโลกก็คือ ละติจูด และ ลองติจูด แทนด้วย XY ในระบบคอมพิวเตอร์ ถ้ามีเรื่องของความสูงและเรื่องของ 3 มิติเข้ามาเกี่ยวข้องก็จะเป็น Z สิ่งที่จัดเก็บก็จะเป็น XYZ ค่า Z คือค่าแห่งความสูง ในการนำเสนอ เช่นเดียวกันในRaster Format สิ่งที่เราจะจัดเก็บมาเป็นถนนคือภาพที่เห็นเป็นสีแดงที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์นี้คือส่วนแรกที่เราจะจัดเก็บคืออะไร ก็คือมีVector และRaster นั่นเอง
· Coordinate System
คือ มาตรฐานหรือข้อจำกัด ข้อตกลงร่วมกันในการใช้ข้อมูลว่าเราจะใช้ข้อมูล coordinate System ในระบบไหน ระบบ UTM หรือระบบลองติจูด และละติจูด ปัจจุบันตัวsolfware GIS สามารถแสดงผลทันทีโดยที่เราไม่จำเป็นที่เราจะไปรู้ว่า ปรับหรือเปลี่ยนอย่างไร
เราบอกคอมพิวเตอร์เลยว่า เราจะใช้ ลองติจูด และละติจูดทำงาน เขาก็จะแสดงท่า ละติจูดและลองติจูดตลอดเวลา หรือเราต้องการให้ UTM เป็น XY ก็จะโชว์ให้เป็น XY ทันที
· Data Quality
คุณภาพของข้อมูลสามารถพิจารณาได้จาก
- Accuracy
- Precision
- Spatial Resolution
- Scale
· Accuracy
แบ่งเป็น 2 อย่างดังนี้คือ
1. Positional Accuracy
2.Attribute Accuracy

3. การประยุกต์ระบบภูมิสารสนเทศ(GIS)สำหรับงานบริหาร
สามารถที่จะทำให้เราตอบคำถามได้ และสามารถวิเคราะห์ได้ การประยุกต์ระบบGIS งานบริหารเป็นเรื่องของข้อมูลต่าง ๆ ดังนี้
· การบริหารปกครองภาครัฐ
- งานฐานข้อมูลที่ดิน การจัดการการเลือกตั้ง การป้องกันอุบัติภัย การวางผังเมือง การรักษากฎหมาย
· การพัฒนาประเทศ
- การวางแผนพัฒนาด้านเศรษฐกิจ การคมนาคม การสื่อสาร การพัฒนาสาธารณูปโภค การส่งเสริมการท่องเที่ยว
· การบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
- ป่าไม้ เหมืองแร่ ทรัพยากรธรณี ปิโตเลียม การเกษตร
· ธุรกิจ
- ด้านอสังหาริมทรัพย์ การตลาด การประกันภัย
ต้นทุนในการทำงาน GIS ค่อนข้างสูง ในการลงทุน 2 ปีแรก ท่านอาจจะเป็นการลงทุนของ Hardware Solfware ข้อมูล บุคลากร ก่อน มี Data พื้นฐานเข้าไป แต่ในระยะยาวควบคุมกันไปก็จะมีเรื่องของ Data เข้ามาเกี่ยวข้อง ถามว่าทำไมถึงทำเรื่องของ Data ตลอด เพราะข้อมูลแผนที่มีการเปลี่ยนแปลงทุกวัน
GIS PROJECT IMPLEMENTATION TIMELINE
ผลตอบแทนหรือกำไร ในระยะเวลาๆหนึ่ง แบ่งเป็น 3 ส่วนงาน คือ
1. System Development การพัฒนาระบบ
2. Application Development & Data Conversion พัฒนาโปรแกรมประยุกต์กับการเก็บข้อมูล
3. Implementation คือการใช้งานจริง

4.ตัวอย่างระบบภูมิสารสนเทศ(GIS) กับการบริหาร
ได้แก่ การจัดทำ GIS ของกระทรวงสาธารณสุข
การจัดทำ GIS ของกระทรวงเกษตรฯ เป็นต้น

***********************

credit : ยุทธนา ช่วงอรุณ นักวิเคราะห์ระบบภูมิสารสนเทศ บริษัท จีเอส อาร์ เอ แห่งประเทศไทย

วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552

พิกัดภูมิศาสตร์

พิกัดภูมิศาสตร์ คือสิ่งที่บอกให้เราทราบถึงตำแหน่งของสถานที่ต่าง ๆ บนผิวโลก โดยยึดตามระบบพิกัดทรงกลม (spherical coordinate system) ชาวบาบิโลเนียเป็นผู้คิดแนวคิดพิกัดภูมิศาสตร์ขึ้น ต่อมาโตเลมี นักปราชญ์ชาวกรีกเป็นผู้ปรับปรุงแนวคิดนี้อีกครั้ง โดยให้หนึ่งวงกลมมีมุม 360 องศา

พิกัดภูมิศาสตร์ในปัจจุบัน ประกอบด้วยสองส่วน คือละติจูด และลองจิจูด ดังจะได้อธิบายต่อไปนี้

  • ละติจูด คือมุมที่วัดระหว่างจุดใด ๆ กับเส้นศูนย์สูตร มีค่าสูงสุด 90 องศา เส้นที่ลากต่อเชื่อมทุกจุดที่มีละติจูดเท่ากันเราเรียกว่า เส้นขนาน (parallel) เวียนเป็นวงกลมรอบโลก โดยขั้วโลกแต่ละขั้วจะมีค่าละติจูดเป็น 90 องศา เช่น ขั้วโลกเหนือมีละติจูด 90 องศาเหนือ เป็นต้น
  • ลองจิจูด คือมุมที่วัดระหว่างจุดใด ๆ กับเส้นเมอริเดียนที่ศูนย์ มีค่าสูงสุด 180 องศา ซึ่งพาดผ่านหอดูดาวหลวงกรีนิช สหราชอาณาจักร เส้นที่ลากต่อเชื่อมทุกจุดที่มีลองจิจูดเท่ากันจะเรียกว่า เส้นเมริเดียน (meridian)

เมื่อนำมุมสองมุมข้างต้นของจุดหนึ่ง ๆ มาประกอบเข้าด้วยกันแล้ว ก็จะได้พิกัดภูมิศาสตร์ของจุดนั้น ซึ่งบอกได้ 3 วิธี คือ
1.
องศา-ลิปดา เช่น กรุงเทพมหานครตั้งอยู่ที่ละติจูด 13 องศาเหนือ 45 ลิปดา
2.องศา-ลิปดา-
พิลิปดา
3.องศาแบบทศนิยม
การแปลงองศาแบบ องศา-ลิปดา-พิลิปดา หรือ องศา-ลิปดา เป็นองศาแบบทศนิยม ทำได้ดังนี้
1.นำพิลิปดาหาร 3600
2.นำลิปดาหาร 60
3.นำผลที่ได้จากข้อ 1 และ 2 บวกกัน แล้วนำไปบวกกับองศา ก็จะได้องศาแบบทศนิยม

แผนที่โลกแสดงพิกัดภูมิศาสตร์

ภาพทรงกลมประกอบมุม ซึ่งใช้เป็นหลักในการระบุพิกัดภูมิศาสตร์ของตำแหน่งใด ๆ บนผิวโลก

ที่มา : จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี