วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ศัพท์พื้นฐานวิทยาศาสตร์โลก

Active Fault
รอยเลื่อนมีพลัง หมายถึง รอยเลื่อนที่จะมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นอีกในอนาคต รอยเลื่อนที่จัดว่าเป็นรอยเลื่อนมีพลังต้องมีการเคลื่อนที่อย่างน้อยหนึ่งครั้งภายในระยะเวลา 10,000 ปี


รอยเลื่อนอีเมอร์สันในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา รอยแยกที่ปรากฏให้เห็นบนพื้นผิวเกิดจากแผ่นดินไหวขนาด 7.2 ริคเตอร์ เมื่อ ค.ศ. 1992
---------------------------------------------------------------------------------------------

Alluvium
ตะกอนน้ำพา เป็นกรวด หิน ตะกอน ดิน ทราย เลน ที่ทับถมกันจากการพัดพามาของกระแสน้ำ
Alluvium ตะกอนน้ำพา: กรวด หิน ดิน ทราย และสิ่งอื่น ๆ ที่น้ำนำพาไปสะสมตัว ณ บริเวณใดบริเวณหนึ่ง เช่น ตามร่องน้ำ เรียกว่า สิ่งทับถมร่องน้ำ (channel-filled deposit) ตามที่ราบน้ำท่วมถึง เรียกว่า สิ่งที่ทับถมที่ราบน้ำท่วมถึง (flood plain deposit) ตามพื้นทะเลสาบ เรียกว่า สิ่งทับถมในทะเลสาบ (lacustrine deposit)



ตะกอนน้ำพาสองฝั่งแม่น้ำซอลต์ มลรัฐอาริโซน่า สหรัฐอเมริกา
-------------------------------------------------------------------------------------------

Blind thrust fault

รอยเลื่อนย้อนบัง เป็นรอยเลื่อนย้อนที่ไม่ปรากฏร่องรอยที่พื้นผิว แต่อยู่ลึกลงไปในชั้นหินใต้เปลือกโลก


แสดงลักษณะของรอยเลื่อนย้อนบัง
-------------------------------------------------------------------------------------------



Core
แก่นโลก ส่วนที่อยู่ในสุดของโลก แก่นโลกชั้นนอกอยู่ที่ระดับลึกจาก 2,500 ถึง 3,500 ไมล์ มีลักษณะเป็นโลหะเหลว แก่นโลกชั้นในอยู่ถัดจากแก่นโลกชั้นนอกไปจนถึงใจกลางโลก มีลักษณะเป็นโลหะแข็ง
core แก่นโลก: ส่วนชั้นในสุดของโลกใต้แนวแบ่งเขตวิเชิร์ต-กูเทนเบิร์กประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลเป็นส่วนใหญ่ มีความหนาแน่นมาก มีรัศมียาวประมาณ 3,440 กม. แบ่งออกเป็นสองชั้นคือ แก่นโลกชั้นใน (inner core) อยู่ในระดับความลึกจากผิวโลกระหว่าง 5,000 กม. กับจุดศูนย์กลางโลก (ประมาณ 6,370 กม.) และแก่นโลกชั้นนอก (outer core) อยู่ในระดับความลึกจากผิวโลกระหว่าง 2,900 กม. กับ 5,000 กม.

โครงสร้างของโลก (ปรับปรุงจาก http://www.pbs.org/wnet/savageearth/animations/hellscrust/index.html)
--------------------------------------------------------------------------------------------

ภูมิศาสตร์น่ารู้ ... อ่าวไทย

ประเทศไทย นับว่าเป็นประเทศหนึ่งที่มีอาณาเขตจดทะเลมีความยาวของขอบฝั่งกว่า 2,400 กิโลเมตร ติดกับทะเล 2 ส่วนด้วยกัน คือ ทะเลฝั่งอ่าวไทย และฝั่งทะเลอันดามัน อ่าวไทยในอดีตมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรสัตว์น้ำนานาพันธุ์ ที่เข้ามาหากินขยายพันธุ์และใช้เป็นที่หลบภัยจากคลื่นลมเนื่องจากอ่าวไทยมีกองหินธรรมชาติ ป่าชายเลน แนวปะการังรวมถึงมีแม่น้ำใหญ่หลายสายที่พัดพาอาหารของสัตว์ทะเลและแร่ธาตุต่างๆลงสู่อ่าวไทย คนไทยมีการใช้ประโยชน์จากทะเลในด้านต่างๆ มาตั้งแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบัน สาเหตุนี้ทำให้ทะเลในปัจจุบัน โดยเฉพาะทางด้านอ่าวไทยทรัพยากรต่างๆ เช่น สัตว์น้ำชนิดต่างๆ คุณภาพน้ำ เกิดความเสื่อมโทรมลงเป็นอย่างมาก ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบนิเวศน์ในทะเลทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้ยังมีผลกระทบต่อคนไทยและสิ่งแวดล้อมของโลกอีกด้วย ซึ่งมูลนิธิสวัสดีได้เล็งเห็นถึงผลกระทบจากปัญหาข้อนี้ จึงได้ดำเนินงานโครงการต่างๆเพื่อบูรณาการทรัพยากรทางทะลที่มีค่านี้ให้พื้นกลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง

ดังนั้นภูมิศาสตร์น่ารู้ฉบับนี้จึงขอเสนอเรื่องของ อ่าวไทยตามลักษณะทางกายภาพและที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของอ่าวไทย อธิบายได้ว่า อ่าวไทยถูกแบ่งเป็นสองตอน คือ อ่าวไทยตอนบนและอ่าวไทยตอนล่าง อ่าวไทยตอนบนเริ่มนับจากเส้นรุ้งที่ 12 องศา30 ลิปดาเหนือจนถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยามีรูปร่างคล้ายๆตัว "ก" มีความลึกเฉลี่ยประมาณ 15 เมตร เป็นที่รวมทางออกสู่ทะเลของแม่น้ำใหญ่ๆที่สำคัญ 4 สาย คือ แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำบางปะกง ส่วนอ่าวไทยตอนล่างนับจากเส้นรุ้งที่ 12 องศา 30 ลิปดาเหนือลงไปหาเส้นศูนย์สูตรจนถึงเส้นขวางระหว่างแหลมคาเมาประเทศเวียดนามกับปากแม่น้ำโกตาบารูทางตอนใต้สุดของจังหวัดนราธิวาส มีความลึกเฉลี่ย 45 เมตร นักวิทยาศาสตร์ทั่วไปมักจะเรียกอ่าวไทยว่า "อ่าวหิ้ง" เพราะว่าเป็นอ่าวปิดด้านหนึ่งและเปิดด้านหนึ่ง มีความลึกน้อยมาก จุดที่ลึกที่สุดอยู่ประมาณกลางอ่าวไทย และค่อยๆตื้นขึ้นตาม ความลาดชันของขอบฝั่งทะเล

เนื่องจากอ่าวไทยเป็นอ่าวตื้นจึงเกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติหลายอย่างเช่นน้ำขึ้น - น้ำลง การขยอกตัวของมวลน้ำพายุ คลื่นลม และกระแสน้ำนอกจากนี้ยังมีการถ่ายเทมวลน้ำจากทะเลจีนตอนใต้มาหล่อเลี้ยงให้มีการหมุนเวียน ตามฤดูกาล คือเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคมจะได้รับอิทธิพลของลมตะวันออกเฉียงเหนือผลักดันให้มวลน้ำจากทะเลจีนใต้ไหลเข้าสู่ อ่าวไทย แต่ในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฏาคม ระดับน้ำในอ่าวไทยจะลดลงเพราะลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะพัดให้มวลน้ำในอ่าวไทยไหลออกสู่ทะเลจีนตอนใต้

การเกิดน้ำขึ้นน้ำลงในอ่าวไทยจะเกิดขึ้นทุกวันตามอิทธิพลของแรงดึงดูดระหว่างโลกกับดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์อื่น แต่ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากกว่า ดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ใดๆจึงมีกำลังมากที่สุด โดยปรกติแล้วชาวประมงจะสังเกตเวลาของน้ำขึ้น -น้ำลงด้วยการดูดวงจันทร์ ถ้าเห็นดวงจันทร์โผล่ขอบฟ้าจะเรียกเวลาน้ำลง ถ้าเห็นดวงจันทร์อยู่ตรงศรีษะเมื่อใด ก็บอกได้ว่าเป็นเวลาน้ำขึ้น ตามปรกติจะเกิดน้ำขึ้น-น้ำลง วันละสองครั้งเสมอแต่บางตำบลของอ่าวไทยจะเกิดเพียงครั้งเดียวในหนึ่งวันเนื่องจากอ่าวไทยเป็นอ่าวตื้น มีก้นอ่าวขรุขระไม่ราบเรียบการเดินทางของคลื่นน้ำขึ้น-น้ำลง จึงไม่สม่ำเสมอกัน เมื่อคลื่นน้ำขึ้นเดินทางเข้ามาในอ่าวแล้ว ก็จะสะท้อนกลับทำให้เกิดแรงหักล้างกันและเป็นผลให้มีน้ำขึ้นน้ำลงเหลือเพียงวันละหนึ่งครั้ง

ประเทศไทยนับว่าโชคดีมากที่มีธรรมชาติโอบอุ้มให้รอดพ้นจากคลื่นแรง-ลมจัด ไว้ได้เกือบทุกปี นอกจากบางปีที่มีพายุความกดอากาศต่ำ (ดีเปรสชั่น) หลุดรอดแหลมญวนเข้ามาได้ เกิดเป็นวาตภัยและอุทกภัยขึ้น ยังความเสียหายแก่พื้นที่ที่ไก้รับอิทธิพลเป็นอย่างยิ่ง ตัวอย่างเช่น พ.ศ.2505 ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและ 2513 ที่จังหวัดสุราษฏร์ธานีเป็นต้นเราจะเห็นได้ว่าจากข้อมูลต่างๆในข้างต้น อ่าวไทยมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อคนไทย เป็นแหล่งอาหาร ทรัพยากรทางทะเลแร่ธาตุต่างๆ รวมถึงเป็นระบบนิเวศน์ที่สำคัญของโลก ทรัพยากรต่างๆในอ่าวไทยมีอยู่อย่างจำกัดและรักษาสมดุลย์ตามธรรมชาติ มนุษย์เป็นตัวการสำคัญที่เข้าไปทำลายความสมดุลย์ของระบบ เราจะพบความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำในปัจจุบันเทียบไม่ได้กับเมื่อ 30 ปี หรือ 20 ปี ปีที่ผ่านมา
หากคนไทยยังขาดจิตสำนึกในการดูแลทรัพยากรปล่อยให้มีการจับสัตว์น้ำแบบทำลายล้างโดยไม่มีการหยุดเพื่อให้สิ่งต่างๆได้มีโอกาสพื้นตัวยังคงปล่อยให้มีการทำลายปะการังธรรมชาติ,ป่าชายเลนและยังคงปล่อยของเสียและวัตถุอันตรายในอ่าวไทย ในอนาคตข้างหน้าเราอาจจะขาดแหล่งอาหารที่สำคัญไปโดยที่มิอาจจะแก้ไขให้กลับมาได้

นอกจากนี้จากนโยบายการพัฒนาประเทศไปสู่ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ ส่งผลให้มีการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมและท่าเรือน้ำลึกเพื่อการอุตสาหกรรมขึ้นที่ภาคตะวันออกตัวอย่างเช่น การถมทะเลในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยองของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.)ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของของอ่าวไทยบริเวณจังหวัดระยองคือ ชายหาดกำลังถูกกัดเซาะทำลาย โดยเฉพาะบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดไปจนถึงโรงงานของกลุ่มบริษัทในครือ ทีพีไอ ระยะทางกว่า 50 กิโลเมตร

โดยขณะนี้ชายหาดบางส่วนได้ถูกกัดเซาะหายไปหมดแล้วหลือเพียงชื่อและคำบอกเล่าถึงหาดที่ครั้งหนึ่งเคยมีอยู่และมีความสวยงาม สาเหตุมาจากโครงการถมทะเลของการถมทะเลนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและกลุ่มโรงงาน ทีพีไอ ทำให้กระแสน้ำเปลี่ยนทิศทางการไหล หาดทรายถูกกัดเซาะ สร้างความเสียหายที่มิอาจประเมินค่าได้และยากที่จะแก้ไขให้เหมือนเดิม นอกจากนี้การถมทะเลยังส่งผลกระทบต่อการดำรงชีพของชาวบ้านโดยเฉพาะชาวประมงในพื้นที่ รวมถึงระบบนิเวศน์ในทะเล จากปัญหาสารปนเปื้อนที่เป็นอันตราย ความขุ่นและตะกอนสารแขวนลอยอีกด้วย



แผนที่แสดงทิศทางของกระแสน้ำ แผนที่แสดงทิศทางของกระแสน้ำ
ในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้